หน้าหลัก
ITA
LPA
ประกาศจากระบบ e-GP
ประกาศจากระบบ e-GP ในเครือข่าย
องค์การบริหารส่วนตำบล ทุ่งยางเมือง ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้
ยอมรับ
   
 
สายตรงนายก
โทร : 090-948-8567
, 055-019-667 ต่อ 6
นายทันวิน ขำแย้ม
 
   
 


 
การเตรียมพร้อมรับมือพายุฝน  
 

วิธีรับมือพายุฝน มาเตรียมตัวและป้องกันการเกิดความเสียหายจากพายุฝนอย่างไร มาดูวิธีเตรียมตัวและรับมือป้องกันความเสียหายจากพายุฝน

ในช่วงฤดูฝนหลายพื้นที่ของประเทศไทยได้รับผลกระทบจากพายุฝนฟ้าคะนอง และลมกระโชกแรง สร้างความเสียหายต่อทรัพย์สินและก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิต องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งยางเมือง จึงขอแนะนำวิธีการเตรียมตัวรับมือพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรงที่อาจจะเกิดขึ้น เพื่อลดความเสี่ยงที่จะเกิดอันตรายจากสถานการณ์ดังกล่าวได้ ดังนี้
.
วิธีเตรียมตัวก่อนเกิดพายุฝน
1.การเตรียมตัว รับมือก่อนเกิดพายุฝน
1.ต้องวางแผนล่วงหน้าเอาไว้ จากการติดตามพยากรณ์อากาศ และเช็กเส้นทางที่เสี่ยงอันตรายจากพายุฝน
2.ถ้ามีความจะเป็นต้องออกจากบ้าน ควรสังเกตสภาพอากาศอย่างต่อเนื่อง เพื่อป้องกันตัวเองจากพายุฝนที่กำลังเคลื่อนเข้ามา
3.เตรียมไฟฉายและเทียน และเพาเวอร์แบงก์พลังงานสำรองเอาไว้ ในกรณีที่ไฟฟ้าดับ
4.เตรียมเบอร์โทรศัพท์ฉุกเฉิน เอาไว้เผื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน และเราจำเป็นต้องติดต่อใคร
.

ป้องกันตัวเองจากพายุฝนขณะอยู่บ้าน
1.นำสัตว์เลี้ยงเข้าบ้าน เพราะสัตว์ทุกชนิดไม่สามารถป้องกันตัวเองจากฝนและฟ้าผ่าได้ รวมไปถึงปลอกคอสัตว์ส่วนใหญ่อาจจะเป็นสื่อล่อไฟฟ้าด้วย
2.ปิดประตูและหน้าต่างทุกบานให้สนิทเพื่อกันฝนซึมเข้ามาในบ้านและพยายามอยู่ห่างหน้าต่างเอาไว้
3.งดใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าและอุปกรณ์ที่ทำมาจากโลหะในระหว่างที่เกิดพายุฝน เพราะกระแสไฟอาจจะวิ่งเข้าสู่ร่างกายได้
4.ในช่วงที่มีพายุฝนควรอยู่ในบ้านตลอดเวลา และควรออกจากบ้านหลังฝนหยุดสนิทแล้ว 30 นาที เพื่อลดความเสี่ยงจากฟ้าผ่านที่มากับพายุฝน
.

ป้องกันตัวเองจากพายุฝนขณะอยู่นอกบ้าน
1.หลบเข้าชายคาทันที เพราะฟ้าสามารถผ่าได้เสมอ และควรหลีกเลี่ยงจากการหลบฝนใต้ต้นไม้และอาคารขนาดเล็กๆ เพราะโครงสร้างประเภทนี้ไม่สามารถป้องกันฟ้าผ่าได้ และอาจได้รับบาดเจ็บจากต้นไม้และโครงสร้างถูกหักและโค่นลงมาได้อีก
2.หลีกเลี่ยงจากแหล่งน้ำเช่นสระว่ายน้ำหรือบ่อน้ำ ถ้าอยู่ในน้ำควรรีบขึ้นจากน้ำทันที
3.หากหลบฝนกับคนอื่น ควรรักษาระยะห่างกันไว้ 15.2 -30.5 เมตร เพื่อป้องกันไม่ให้กระแสไฟวิ่งเข้าสู่ร่างกายคนรอบข้างเมื่อมีคนโดนฟ้าผ่า
4.หากมีฟ้าผ่าลงบริเวณใกล้เคียง ควรนั่งยองๆ เท้าชิดก้มหน้าซุกระหว่างเข่า มือปิดหูหรือจับเข่า จะช่วยลดความรุนแรงจากอาการบาดเจ็บที่อาจเกิดขึ้นกับอวัยวะภายในเมื่อโดนฟ้าผ่าได้


ทั้งนี้หากประชาชนท่านใดต้องการความช่วยเหลือหรือแจ้งเหตุสาธารณภัยต่าง ๆ สามารถติดต่อได้ที่ สายด่วนนิรภัย หมายเลข 1784 หรือ งานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งยางเมือง  โทร  055-019667 ต่อ 1  (บริการประชาชน 24 ชั่วโมง)

 

ข่าว ณ. วันที่ 24 ส.ค. 2565 เวลา 15.48 น. โดย คุณ กิตติ ทองเผือก

ผู้เข้าชม 110 ท่าน